วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

1. สิ่งแวดล้อม หมายถึงอะไร






สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ประกอบด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่นและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์


ประเภทของสิ่งแวดล้อม มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ (เกษม จันทร์แก้ว,2525 อ้างถึงใน กนก จันทร์ทอง, 2539)


1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ


สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สัตว์ป่า ฯลฯ สิ่งแวดล้อมประเภทนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอาจใช้เวลาเร็วหรือช้าเพียงใดขึ้นอยู่กับชนิดและประเภท


สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่


1) สิ่งมีชีวิต (Biotic Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ มีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตเช่น พืช สัตว์และมนุษย์เราอาจจะเรียกว่าสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) ก็ได้


2) สิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ไม่มีชีวิต อาจจะมองเห็นหรือไม่ก็ได้ เช่น ดิน น้ำ ก๊าซ อากาศ ควัน แร่ธาตุ เมฆ รังสีความร้อน เสียง ฯลฯ เราอาจเรียกว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ได้เช่นกัน


2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น


สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Make Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้รับการสั่งสอน สืบทอด และพัฒนากันมาตลอด ซึ่ง ได้แบ่งไว้ 2 ประเภทคือ


1) สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือสิ่งแวดล้อมที่สามารถมองเห็นได้ เช่น บ้านเรือน เครื่องบิน โทรทัศน์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก หรือตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิต บางอย่างอาจมีความจำเป็น แต่บางอย่างเป็นเพียงสิ่งฟุ่มเฟือย


2) สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Social Environment) หรือ ( Abstract Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบสำหรับอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สิ่งแวดล้อมทางสังคมได้แก่ระบอบการปกครอง ศาสนา การศึกษา อาชีพ ความเชื่อ เจตคติ กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ระเบียบข้อบังคับ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็นจะแสดงออกมาในรูปพฤติกรรม สิ่งแวดล้อมกับมนุษย์


มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้


กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น


o ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ


o ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา


o ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย






ที่มา : http://www.keereerat.ac.th/webQuest/webman/envir_1.html




2. องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม





องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้

1. ลักษณะภูมิประเทศ

2. ลักษณะภูมิอากาศ

3. ทรัพยากรธรรมชาติ

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ

1. พลังงานภายในเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกผันแปร บีบอัดให้ยกตัวสูงขึ้น กลายเป็นภูเขาที่ราบสูง หรือทรุดต่ำลง เช่น เหว แอ่งที่ราบ

2. ตัวกระทำทางธรรมชาติภายนอกเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกเกิดการสึกกร่อนพังทลายหรือทับถม ได้แก่ ลม กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง

3. การกระทำของมนุษย์ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน การตัดถนนเข้าไปในป่า ทำให้ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่นั้นๆเปลี่ยนไปจากเดิม

ความสำคัญของลักษณะภูมิประเทศ

1. ความสำคัญต่อมนุษย์ ลักษณะภูมิประเทศมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพของมนุษย์ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำ

2. ความสำคัญต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูง ย่อมมีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของท้องถิ่น เช่น ทำให้เกิดเขตเงาฝน

3. ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เขตเทือกเขาสูง ย่อมอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ ป่าไม้และสัตว์ป่า

ประเภทของลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศจำแนกได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. ลักษณะภูมิประเทศอย่างใหญ่ เห็นได้ชัดและเกิดในอาณาบริเวณที่กว้างขวาง เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวภายในของเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกยกตัวขึ้นสูงหรือทรุดต่ำลง โดยคงลักษณะเดิมไว้นานๆ เช่น ที่ราบ ที่ราบสูง เนินเขา และภูเขา

2. ลักษณะภูมิประเทศอย่างย่อย มีอาณาบริเวณไม่กว้างนัก อาจเปลี่ยนแปลงรูปได้ มักเกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง กระแสลม คลื่น เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ อ่าว แหลม น้ำตก

ประเภทของที่ราบ แบ่งตามลักษณะของการเกิด

1. ที่ราบดินตะกอน พบตามสองฝั่งของแม่น้ำ เกิดจาการทับถมของดินตะกอนที่น้ำพัดพา

2. ที่ราบน้ำท่วมถึง เป็นที่ราบลุ่มในบริเวณแม่น้ำ มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน เกิดจากการทับถมของดินตะกอนหรือวัสดุน้ำพา

3. ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำบริเวณปากแม่น้ำ เกิดจากการทับถมของโคลนตะกอนวัสดุน้ำพาจนกลายเป็นที่ราบรูปพัด

4. ลานตะพักลำน้ำ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำอีกประเภทหนึ่ง แต่อยู่ห่างจากสองฝั่งแม่น้ำออกไป น้ำท่วมไม่ถึง ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ บางที่เรียกว่า ที่ราบขั้นบันได

ความสำคัญของภูมิอากาศ

1. ความสำคัญที่มีต่อลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศทำให้ท้องถิ่นมีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน

2. ความสำคัญที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ภูมิอากาศร้อนชื้น ฝนชุก จะมีทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าบางชนิดชุกชุม

3. ความสำคัญที่มีต่อมนุษย์ ภูมิอากาศย่อมมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกาย บ้านเรือน

ปัจจัยที่มำให้ภูมิอากาศของท้องถิ่นต่างๆมีความแตกต่างกัน

1. ที่ตั้ง คือ ละติจูดของพื้นที่

2. ลักษณะภูมิประเทศ คือ ความสูงของพื้นที่

3. ทิศทางลมประจำ เช่น ลมประจำปี

4. หย่อมความกดอากาศ

5. กระแสน้ำในมหาสมุทร

ที่ตั้ง หรือ ละติจูดของพื้นที่

ละติจูดของพื้นที่มีผลต่อปริมาณความร้อนที่ได้รับจากแสงอาทิตย์ ดังนี้

1. เขตละติจูดต่ำ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปี จึงมีอากาศร้อน

2. เขตละติจูดสูง ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ความร้อนที่ได้รับมีน้อย จึงเป็นเขตอากาศหนาวเย็น

3. เขตละติจูดปานกลาง ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากน้อยตามฤดูกาล จึงมีอากาศอบอุ่น

ความอยู่ใกล้ หรือไกลทะเล

มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น ดังนี้

1.พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล จะได้รับอิทธิพลจากพื้นน้ำ ทำให้ฝนตกมากและอากาศเย็น

2.พื้นที่ที่อยู่ไกลทะเล เช่น อยู่กลางทวีป อากาศจะแห้งแล้ง

ความสูงของพื้นที่ มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น

พื้นที่ยิ่งสูงอากาศยิ่งหนาวเย็น เนื่องจากความร้อนที่ผิวพื้นโลกได้รับจากดวงอาทิตย์จะแผ่สะท้อนกลับสู่บรรยากาศ ดังนั้นบริเวณที่อยู่ใกล้พื้นผิวโลกจึงมีความร้อนมาก

การขวางกั้นของเทือกเขาสูง

มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น ถ้าเทือกเขาสูง วางตัวกั้นทิศทางของลมประจำ เช่น ลมมรสุมฤดูฝน จะเป็นผลให้ด้านหน้าของเทือกเขาได้รับความชุ่มชื้น มีฝนตกชุก ส่วนด้านหลังของเทือกเขาเป็นเขตอับลมฝนแห้งแล้ง ที่เรียกกันว่า เขตเงาฝน

การจำแนกเขตภูมิอากาศโลกตามวิธีการของเคิปเปน

เคิปเปน นักภูมิอากาศวิทยาชาวออสเตรีย ได้กำหนดประเภทภูมิอากาศของโลกออกเป็น 6 ประเภท โดยกำหนดสัญลักษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้

1. แบบร้อนชื้น (a) มีอุณหภูมิสูงตลอดทั้งปี ฝนตกชุก พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ

2. แบบแห้งแล้ง (b) มีอุณหภูมิสูง แห้งแล้ง มีฝนตกน้อยมาก พืชพรรณเป็นพืชทะเลทราย

3. แบบอบอุ่น หรือชื้น อุณหภูมิปานกลาง (c) อากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง พืชพรรณเป็นป่าไม้ผลัดใบเขตอบอุ่น

4. แบบหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำ (d) อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำ พืชพรรณเป็นป่าผลัดใบเขตอบอุ่น ป่าเขตหนาว และทุ่งหญ้าแพรี

5. แบบขั้วโลก (e) อากาศหนาวเย็นมากที่สุด อุณหภูมิต่ำมาก พืชพรรณเป็นหญ้ามอส และตะไคร่น้ำ

6. แบบภูเขาสูง (h) เป็นลักษณะภูมิอากาศแบบพิเศษ พบในเขตภูเขาสูง มีภูมิอากาศหลายแบบทั้ง a, c, d อยู่ร่วมกันตามระดับความสูงของภูเขา ยิ่งสูงอากาศยิ่งหนาว พืชพรรณธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูงของพื้นที่

หลักเกณฑ์การแบ่งเขตภูมิอากาศของเคิปเปน

เคิปเปน มีหลักเกณฑ์การพิจารณา 3 ประการ ดังนี้

1. อุณหภูมิของอากาศในท้องถิ่น

2. ปริมาณฝนของท้องถิ่น

3. ลักษณะพืชพรรณของท้องถิ่น

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มี 4 ประเภท ดังนี้

1. ดิน 2. น้ำ 3. แร่ธาตุ 4. ป่าไม้

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. การเพิ่มของจำนวนประชากร ทำให้การบริโภคทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างรวดเร็ว

2. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เลื่อยไฟฟ้าตัดไม้ในป่า

3. การบริโภคฟุ่มเฟือย ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม สนับสนุนให้ประชาชนมีวัฒนธรรมการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติสูญสิ้นอย่างรวดเร็ว

ปัจจัยที่ทำให้ดินในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน

ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย อนินทรีย์วัตถุ มีร้อยละ 45 อินทรีย์วัตถุ มีร้อยละ 5 น้ำร้อยละ 25 และอากาศร้อยละ 25 ปัจจัยที่ทำให้ดินในแต่ละท้องถิ่นมีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน คือ

1. ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลาดชันมาก การสึกกร่อนพังทลายของดินมีมาก

2. ลักษณะภูมิอากาศ ในเขตร้อนชื้น ฝนตกชุก การชะล้างของดินและการผุพังสลายตัวของแร่ธาตุ ซากพืชซากสัตว์ในดินจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพเร็ว

3. สัตว์มีชีวิตในดิน เช่น ไส้เดือน จุลินทรีย์ในดิน จะช่วยย่อยซากพืชซากสัตว์ ทำให้ดินได้รับฮิวมัสเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยสำคัญที่ควบคุมความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำ

1. น้ำบนดิน ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง

2. น้ำใต้ดิน หมายถึง น้ำบาดาล ปริมาณน้ำใต้ดินจะมีมากน้อย ขึ้นกับ

- ปริมาณฝนของพื้นที่นั้นๆ

- ความสามารถในการเก็บกักน้ำของชั้นหินใต้พื้นดิน

ประเภทของแร่ธาตุ

1. แร่โลหะ คือแร่ที่ประกอบด้วยธาตุโลหะ มีความวาวให้สีผงเป็นสีแก่ ได้แก่ xxxีบุก ทังสเตน พลวง

2. แร่อโลหะ คือแร่ที่ไม่มีความวาวแบบโลหะ ให้สีผงเป็นสีอ่อน ได้แก่ ดินขาว หินปูน หินอ่อน

3. แร่เชื้อเพลิง คือแร่ที่มีสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน ทำเป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ

4. แร่นิวเคลียร์ คือแร่ที่นำมาใช้ในกิจการพลังงานปรมาณู เช่น ยูเรเนียม

การจำแนกประเภทของป่าไม้

1. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ มีใบเขียวตลอดปี พบในเขตฝนชุก มี 4 ชนิด ดังนี้

1.1 ป่าดงดิบ มีลักษณะเป็นป่ารกทึบ

1.2 ป่าดิบเขา มีลักษณะคล้ายป่าดงดิบ

1.3 ป่าสนเขา เป็นไม้สน ขึ้นในเขตภูเขาสูง

1.4 ป่าชายเลน ขึ้นตามชายฝั่งทะเลที่มีหาดเลน บางที่เรียกว่า ป่าเลนน้ำเค็ม

2. ป่าไม้ผลัดใบเป็นป่าไม้ที่ผลัดใบในฤดูแล้ง มี 2 ชนิด ดังนี้

2.1 ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่ง ผลัดใบในฤดูแล้ง

2.2 ป่าแดง เป็นป่าโปร่ง มีทุ่งหญ้าสลับทั่วไป


Ref : http://www.dektriam.net/TopicRead.aspx?topicID=49256&start=0 07/06/2008






3. สาเหตุของปัญหาของสิ่งแวดล้อม






ปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจากสาเหตุใหญ่ 3 ประการ คือ 1. การเพิ่มจำนวนของประชากร


การเพิ่มความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ ความต้องการพื้นที่ทำกินทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีการบุกรุกทำลายป่าอันควรสงวนไว้เพื่อรักษาดุลยภาพ


ของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ความต้องการในการใช้ทรัพยากรอื่นๆ เป็นต้นว่า น้ำ อากาศ แร่ธาตุ แหล่งพลังงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพียงเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ยังขาดการวางแผนการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงความต้องการในอนาคต จนเกิดความเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อมขึ้นโดยทั่วไปและอาจทำให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงในอนาคต หากยังมีการทำลายหรือการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติกันอย่างไม่ระมัดระวังต่อไปอีก


2. การรวมตัวของประชากรหรือการตั้งถิ่นฐานมนุษย์


เป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเช่นเดียวกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง ซึ่งโดยปกติแล้วจะขาดการวางแผนและผังเมืองไว้ล่วงหน้าทำให้เกิดปัญหาของเมืองขึ้น เป็นต้นว่าการใช้ที่ดินที่ไม่มีระเบียบแบบแผน ปัญหาการจราจร การขาดแคลนทางด้านสาธารณูปโภคและการบริการโดยทั่วไป รวมทั้งการพักผ่อนหย่อนใจอันแสดงถึงสภาพความเสื่อมโทรมทั้งทางด้านกายภาพสังคม และคุณภาพของชีวิตของคนในเมืองทุกขณะการขยายตัวของเมืองนั้นโดยปกติจะมีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมเกิดขึ้นด้วย เนื่องจากอุตสาหกรรมจะได้ประโยชน์จากการอยู่ใกล้ชิดกับเมืองที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งหมายถึง การมีตลาดการคมนาคมและบริการพื้นฐานต่างๆ ที่ดีกว่าเมืองหรือชุมชนขนาดเล็ก การขยายตัวทางอุตสาหกรรมมักจะขาดการวางแผนหรือควบคุมที่เพียงพอ จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำเสีย อากาศเป็นพิษจากของเสียที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ปล่อยออกมา ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านกายภาพ และทางด้านสุขภาพ อนามัย และคุณภาพชีวิตของประชากรเช่นเดียวกัน


3. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตในทางด้านการเกษตร


การใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงได้ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของคุณภาพของดิน ปัญหาดินเป็นพิษ ซึ่งอาจจะแผ่กระจายตัวลงสู่แม่น้ำ ลำธาร จนเป็นสาเหตุของน้ำเสีย หรือทางด้านอุตสาหกรรม วิธีการในการผลิตที่ใช้สารตะกั่ว ปรอท สารหนู ฯลฯ สารเหล่านี้จะเป็นพิษร้ายแรงต่อสุขภาพอนามัยของประชากร และยากแก่การแก้ไขหรือทำลายส่วนที่ตกค้างให้หมดสิ้นไป การใช้พลังงานก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นได้หลายประการ
จะเห็นได้ว่าปัญหาของสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นจากคน และการกระทำของคนทั้งสิ้นดังนั้นในการแก้ไขและวางแผนเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อม





ที่มา : http://environment.exteen.com/20061210/entry-3



4. ผลที่เกิดจากปัญหาของสิ่งแวดล้อม



ผลที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจาก มีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง
กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
1.ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย
2. ปัญหามลพิษที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนมีมากมาย มิใช่แต่เพียงมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ หรือทางดินที่เรารู้จักกันดีเท่านั้น การที่สภาวะแวดล้อมของเราเปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็นของการพัฒนาบ้านเมือง ซึ่งจะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้นั้น หากมิได้มีการวางแผนอย่างถี่ถ้วนรัดกุม การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอาจกลายเป็นปัญหามลพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้คนได้
ตัวอย่างที่ชัดเจนสำหรับเมืองเรา คือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครได้ก่อให้เกิดปัญหาสภาวะแวดล้อมอย่างมากมาย จนกระทั่งบางเรื่องอาจลุกลามใหญ่โตจนไม่สามารถแก้ไขได้ในสภาวะเศรษฐกิจของประเทศเรา การที่เมืองขยายออกไป ผืนดินที่ใช้ทางการเกษตรที่ดีก็ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัย ที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มกลับกลายเป็นแหล่งชุมชน คลองเพื่อการระบายน้ำถูกเปลี่ยนแปลงเป็นถนนเพื่อการคมนาคม แอ่งที่จะเป็นที่ขังน้ำถูกขจัดให้หมดไปด้วยสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เมื่อถึงหน้าน้ำหรือเมื่อฝนตกใหญ่ กรุงเทพมหานครจะประสบปัญหาน้ำท่วมทุกครั้ง น้ำท่วมก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพมากมาย เริ่มต้นด้วยโรคน้ำกัดเท้า และต่อไปก็อาจเกิดโรคระบาดได้
ปัญหาขยะก็เป็นมลพิษที่สำคัญอีกประการหนึ่ง หากเมืองใหญ่ขึ้น ผู้คนมากขึ้น ของทิ้งก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นเป็นธรรมดา การเก็บขยะให้หมดจึงเป็นปัญหาสำคัญของเมืองใหญ่ ๆ ต่าง ๆ หากเก็บขยะไปไม่หมด ขยะก็จะสะสมหมักหมมอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นที่เพาะเชื้อโรค และแพร่เชื้อโรค ทำให้เกิดลักษณะเสื่อมโทรมสกปรก นอกจากนี้ ขยะยังทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ เมื่อมีผู้ทิ้งขยะลงไปในน้ำ การเน่าเสียก็จะเกิดขึ้นในแหล่งนั้น ๆ การจราจรที่แออัดนอกจากเกิดปัญหามลพิษทางอากาศแล้วยังมีปัญหาในเรื่องเสียงติดตามมาด้วย เพราะยวดยานที่ผ่านไปมาทำให้เกิดเสียงดังและความสะเทือน เสียงที่ดังเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ บางคนดัดแปลงยานพาหนะของตนไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ทำให้เสียงดังกว่าปกติ โดยนิยมกันว่าเสียงที่ดังมาก ๆ นั้นเป็นของโก้เก๋ คนเหล่านั้นหารู้ไม่ว่าตนกำลังทำอันตรายให้เกิดขึ้นทั้งกับตัวเองและกับผู้อื่น เสียงที่ดังเกินขอบเขตจะทำให้เกิดอาการทางประสาท ซึ่งอาจแสดงออกเป็นอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หรือทางอารมณ์ เช่น เกิดอาการหงุดหงิด ใจร้อนควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ เป็นต้น นอกจากนี้เสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เกิดความเสื่อมกับอวัยวะในการรับเสียงอีกด้วย ผู้ที่ฟังเสียงดังเกินขอบเขตมาก ๆ จะมีลักษณะหูเสื่อม ทำให้การได้ยินเสื่อมลง เป็นต้น
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือปัญหาสารมลพิษที่แปลกปลอมมา ในสิ่งที่เราจะต้องใช้บริโภค อาหารที่เราบริโภคกันอยู่ในทุกวันนี้อาจมีสิ่งเป็นพิษแปลกปลอมปนมาได้ โดยความบังเอิญหรือโดยความจงใจ
การใช้สารมีพิษเพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ความสนใจในโทษของสารเคมีที่ใช้ในการปราบศัตรูพืชยังมีน้อยมาก ในประเทศไทย วัตถุมีพิษที่ใช้ในกิจการดังกล่าวส่วนใหญ่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ที่นิยมใช้กันอยู่มีประมาณ 100 กว่าชนิด วัตถุมีพิษเหล่านี้ผสมอยู่ในสูตรต่าง ๆ มากกว่า 1,000 สูตร เมื่อมีการใช้วัตถุมีพิษอย่างแพร่หลายมากเช่นนี้ สารมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม และสารมีพิษตกค้างในอาหาร ซึ่งทำให้ทั้งคนและสัตว์ได้รับอันตราย จึงปรากฎมากขึ้น จากการวิเคราะห์ตัวอย่างต่าง ๆ พบว่า ปริมาณสารมีพิษประเภทยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ที่ตกค้างในน้ำและในสัตว์น้ำมีแนวโน้มของการสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าบางกรณีปริมาณวัตถุมีพิษที่สะสมอยู่ในสัตว์น้ำที่ประชาชนใช้บริโภคอยู่ จะมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานที่บางประเทศกำหนดไว้ก็ตาม หากคิดว่าโดยปกติคนไทยจะนิยมบริโภคสัตว์น้ำเป็นอาหารหลักด้วยแล้ว ปัญหานี้ก็จะเป็นเรื่องที่น่ากลัวอันตรายมาก



http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/arunee_w/cheevit/sec00p03.html



5. ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ



ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ


ระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง (นิเวศวิทยา หรือศัพท์ในภาษาอังกฤษ คือ Ecology มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือ Oikos แปลว่า บ้าน, ที่อยู่อาศัย และ Logos แปลว่า เหตุผล, ความคิด)


สิ่งมีชีวิต (Organism) หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ ต้องมีการเจริญเติบโต, เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย, สืบพันธุ์ได้, สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม, มีการขับถ่ายของเสีย และต้องกินอาหารหรือแร่ธาตุต่างๆ เป็นต้น


ประชากร (Population) หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง


กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กัน โดยตรงหรือโดยทางอ้อม


ชีวภาคหรือโลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere) หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกัน


แหล่งที่อยู่ (Habitat) หมายถึง บริเวณ หรือสถานที่ที่ใช้สำหรับผสมพันธุ์วางไข่ เป็นแหล่งที่อยู่ เช่น บ้าน สระน้ำ ซอกฟัน ลำไส้เล็ก


สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตหรือ ดำรงชีวิตได้ดีหรือไม่ หรืออาจหมายถึงสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเราทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต


ชีวนิเวศ (Biomes) หมายถึง ระบบนิเวศใดก็ตามที่มีองค์ประกอบของปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางชีวภาพที่คล้ายคลึงกันกระจายอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ต่างกัน


พื้นที่ผิวของโลก รวมทั้งมหาสมุทร และบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต เราเรียกว่า ชีวภาค (Biosphere) โลกของสิ่งมีชีวิตถือว่าเป็นระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในส่วนต่างๆของโลกมีระบบนิเวศหลายประเภท แต่อาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ระบบนิเวศธรรมชาติและระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น


1. ระบบนิเวศธรรมชาติ เป็นระบบนิเวศที่ธรรมชาติมีบทบาทในกระบวนการต่างๆและต้องพึ่งพาพลังงานจากดวงอาทิตย์เพื่อใช้ในกระบวนการทำงาน แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อยคือ ระบบนิเวศบนดิน และระบบนิเวศแหล่งน้ำ





1.1 ระบบนิเวศบนดิน (Terrestrial ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่มีส่วนประกอบและกระบวนการต่างๆ เกิดขึ้นบนพื้นดิน มีลักษณะต่างกันตามสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ระดับความสูงจากน้ำทะเล


1.2 ระบบนิเวศแหล่งน้ำ (Aquatic ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่ประกอบไปด้วยกระบวนการทำงานและส่วนต่างๆที่เกิดขึ้นในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมแตกต่างไปจากระบบนิเวศบนดิน สภาพแวดล้อมทางน้ำเป็นตัวกำหนดชนิดของระบบนิเวศแหล่งน้ำ


2. ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นระบบนิเวศที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนร่วมหรือทดแทนธรรมชาติในกระบวนการต่างๆ โดยจำแนกออกเป็น 2 ระบบนิเวศย่อยคือ ระบบนิเวศกึ่งธรรมขาติหรือระบบนิเวศชนบท-เกษตรกรรม และระบบนิเวศเมืองและอุตสาหกรรม


2.1 ระบบนิเวศกึ่งธรรมขาติ หรือระบบนิเวศชนบท-เกษตรกรรม เป็นระบบนิเวศที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิต การหมุนเวียนของพลังงานและสารอาหาร เช่น การเพาะปลูกในพื้นที่ต่างๆ ตัวอย่างของระบบนิเวศนี้ ได้แก่ การเพาะปลูกในพื้นที่ต่างๆ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ บ่อ บ่อเลี้ยงปลา ตู้เลี้ยงปลา เป็นต้น (มนุษย์เป็นผู้ควบคุมปัจจัยทางกายภาพ เช่น การให้ปุ๋ย การชลประทาน)








2.2 ระบบนิเวศเมืองและอุตสาหกรรม เป็นระบบนิเวศที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนร่วมหรือแทนที่ โดยนำเอาวัตถุดิบจากระบบนิเวศธรรมชาติและจากระบบนิเวศกึ่งธรรมชาติมาแปรสภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีลักษณะต่างไปจากเดิม เพื่อใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างขององค์ประกอบในระบบนิเวศนี้ ได้แก่ อาคาร ตลาด สนามเด็กเล่น วัด โรงพยาบาล ห้องสมุด สวนสาธารณะ สวยสัตว์ เป็นต้น (มนุษย์ควบคุมการถ่ายทอดพลังงานสารอาหารเป็นไปอย่างมีระบบ)





นอกจากนี้เราอาจจำแนกระบบนิเวศโดยอาศัยเกณฑ์ต่างๆ เพิ่มเติม ได้แก่


1. การจำแนกระบบนิเวศตามลักษณะการถ่ายเทพลังงานในระบบนิเวศ แบ่งออกเป็น


1. ระบบนิเวศอิสระ (Isolate ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่พลังงานและสารอาหารเคลื่อนย้ายและหมุนเวียนอยู่เฉพาะภายในระบบ ไม่มีการเคลื่อนย้ายและหมุนเวียนกับระบบอื่นภายนอก


2. ระบบนิเวศปิด (Closed ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่มีการเคลื่อนย้ายและหมุนเวียนเฉพาะพลังงานระหว่างภายในและภายนอกระบบ เช่น กรณีของอ่าง หรือ ตู้เลี้ยงปลา


3. ระบบนิเวศเปิด (Open ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่ปรากฏในธรรมชาติทั่วไป โดยเคลื่อนย้ายและหมุนเวียนของพลังงานและสารอาหารระหว่างภายในและภายนอกระบบนิเวศ








2. การจำแนกระบบนิเวศตามขนาดของระบบนิเวศ แบ่งออกเป็น


1. ระบบขนาดเล็ก เช่น ระบบนิเวศในสระน้ำ ใต้ขอนไม้ นาข้าว กระป๋องน้ำ ตู้ปลา เป็นต้น


2. ระบบขนาดใหญ่ เช่น แหล่งน้ำจืด ทะเลสาบ ทะเล ป่าชายเลน มหาสมุทร เป็นต้น





ที่มาของภาพ

http://ngphotooftheday.blogspot.com/2008_10_11_archive.html

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=348848

http://gilesbowkett.blogspot.com/2008/06/maglev-jruby-and-rubinius-who-will-win.html




6. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบนิเวศ



ความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม








1. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการกิน ตัวอย่างเช่น ห่วงโซ่อาหาร 3 กลุ่ม


ปรับปรุงจาก Marsh & Grossa, 2002, p. 82.








ที่มา (สมาคมผู้บริโภคสื่อสีขาว, ม.ป.ป.) (ปกรณ์ สุปินานนท์, 2551)










3. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบอาศัยฝ่ายเดียว ตัวอย่างเช่น เกาะสุนัขที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมในภาคกลาง


ที่มา (เกาะสุนัข- พุทธมณฑล, 2546)





4. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบเกาะกินภายนอกร่างกายของผู้ถูกเกาะกิน ตัวอย่างเช่น เหาบนหัวมนุษย์





ที่มา (กวงคุง, 2550)








5. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบเกาะกินหรือปรสิต ตัวอย่างเช่น เด็กหญิงอายุ 7 ขวบที่จังหวัดเชียงรายในภาคเหนือถูกปลิงยาวประมาณ 1 นิ้ว เกาะดูดเลือดบริเวณลำคอ




ที่มา (ปลิงมฤตยูเกาะดูดเลือดเหยื่อไม่เลือกที่, 2548)





6.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบเกาะกินภายในร่างกายผู้ถูกเกาะกิน ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยชาวเวียดนามติดเชื้อไวรัสจากไก่ ซึ่งมีอาการปอดถูกทำลาย และแผนที่แสดงการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในทวีปเอเชีย


ที่มา (วีระชัย ศักดาจิวะเจริญ, ม.ป.ป.) (แอปเพนเซลเลอร์, 2548, 107-110)







7. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบผู้ล่าและเหยื่อ ตัวอย่างเช่น เจ้าของนาเกลือจังหวัดอุดรธานีจับปลากะพงในบ่อเก็บน้ำกร่อยหลังการทำนาเกลือ

ที่มา (เริงฤทธิ์ คงเมือง, 2552, 138)




8. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบผู้ล่าและเหยื่อ ตัวอย่างเช่น ยุงเอเดสเอยิปตีพาหะนำเชื้อโรคไข้เหลือง มนุษย์ควบคุมจำนวนให้เป็นเหยื่อยุงอื่น


ที่มา (วรวุฒิ เจริญศิริ, 2548)





9. ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อระบบนิเวศธรรมชาติจากการสูญเสียพื้นที่ของระบบนิเวศ ตัวอย่างเช่น นายวรศักดิ์ วิทยาเมธีวงศ์ อายุ 56 ปี ชาวนครสวรรค์ และนายสนั่น แก้วดี อายุ 38 ปีหมู่ที่ 2 ตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์2 ลักลอบส่งไม้พะยูงไปจีน


ที่มา (จับไม้พะยูงล็อตใหญ่, 2550, หน้า 1)





10.ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อระบบนิเวศธรรมชาติจากการสูญเสียพื้นที่ของระบบนิเวศ เป็นแผนที่แสดงแดนวิกฤตระบบนิเวศธรรมชาติของโลกในทวีปเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และโอเชียนเนีย




ที่มา (วิลสัน, 2545, 133)





11. ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อระบบนิเวศธรรมชาติจากการทำเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น คนงานชาวทมิฬกำลังเก็บใบชาบนลาดเขา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นระบบนิเวศป่าดิบ ป่าดิบปะปนทุ่งหญ้าที่รัฐเกรละ ประเทศอินเดียในภูมิภาคเอเชียใต้


ที่มา (เวิร์ด, 2545, 138-139)







12.ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อระบบนิเวศธรรมชาติจากการทำให้พื้นที่ระบบนิเวศ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตขาดเป็นส่วนๆไม่ต่อเนื่องกัน ตัวอย่างเช่น การเกษตรกรรม

ปรับปรุงจาก Marsh & Grossa, 2002, p. 349



13.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยกระบวนการสนับสนุนการดำเนินชีวิต ตัวอย่างเช่น น้ำในวัฏจักรน้ำ

ที่มา (สกว., 2548)







14. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยกระบวนการคุกคามการดำเนินชีวิต ตัวอย่างเช่น ทอร์นาโด รัฐโอคลาโฮมา ประเทศสหรัฐอเมริกาในทวีปอเมริกาเหนือ


ที่มา (ทอร์นาโด, 2547)







15. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยกระบวนการคุกคามการดำเนินชีวิต ตัวอย่างเช่น พายุเฮอร์ริเคนถล่มรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกาในทวีปอเมริกาเหนือหลายลูก และสภาพบ้านพังเพราะคลื่นซัดฝั่งจากพายุเฮอร์ริเคน

ที่มา (แคร์รอลล์, 2548, 60-65)







16.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตจากไฟป่า ตัวอย่างเช่น ไฟป่าที่ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือ


ที่มา (ดูจะจะ สงครามฝุ่นเชียงใหม่, 2550)











17.แผนที่จังหวัดเสี่ยงภัยไฟป่าในประเทศไทย

ปรับปรุงจาก Wikimedia Commons, 2005


18. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นจากสิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็น ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงชาวจีนใกล้ทะเลทรายโกบีในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อาศัยในบ้านก่อด้วยอิฐโคลน ใช้แผงกระจกรับแสงอาทิตย์ในการหุงข้าวและชงชา


ที่มา (เว็บสเตอร์, 2545, 103)







19. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นจากสิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็น ตัวอย่างเช่น พิธีแกลมอหรือพิธีบำบัดผู้ป่วยของชาวกูย จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2548 ตามความเชื่อที่ว่าสาเหตุเกิดจากการกระทำของผี


ที่มา (เริงฤทธิ์ คงเมือง, 2549, 68-72)







20. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นจากสิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็น ตัวอย่างเช่นชาวมุสลิมร่วมกันทำละหมาดในนครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ พวกเขามาจากหลายวัฒนธรรมทั่วโลก


ที่มา (เบลต์, 2545, 126)





21.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบแบบพึ่งพาอาศัยกัน ตัวอย่างเช่น ช้างและควาญเล่นน้ำในลำห้วยของศูนย์บริบาลช้าง จังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือ


ที่มา (แซดวิก, 2548, 56)


22. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน ตัวอย่างเช่นฝูงอูฐในทะเลทรายโกบีระหว่างประเทศจีนกับมองโกเลียในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อูฐเหล่านี้แบกของหนักได้ถึง 200 กก. และอดน้ำได้หลายวัน




http://envisurin.blogspot.com/2009/11/blog-post.html






7. ความสัมพันระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม



ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม


ปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของชีวิตคือสสารและพลังงาน ซึ่งไม่มีชีวิตใดสร้างขึ้นมาได้ด้วยตนเอง ที่มาของสสารและพลังงานมาจากสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันชีวิตก็ไม่สามารถเก็บสสารและพลังงานนั้นเอาไว้ในตัวได้ตลอดเวลา ดังนั้นชีวิตจึงจำเป็นต้องถ่ายเทสสารและพลังงานออกจากตัวซึ่งก็เข้าสู่สิ่งแวดล้อมอีกเช่นกัน ดังนั้นชีวิตทั้งมวลซึ่งรวมถึงมนุษย์จึงไม่สามารถดำรงอยู่โดยปราศจากสิ่งแวดล้อมที่จะรองรับการถ่ายเทสสารและพลังงานเอาไว้ นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมยังเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ชีวิตต่างๆ ต้องมีการปรับตัวเพื่อการอยู่รอด ซึ่งมีผลต่อการวิวัฒนาการของชีวิตในที่สุด (จิรากรณ์ คชเสนี, 2549 : 7)


สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ล้วนมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อความเป็นอยู่ การอยู่รอด และมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ รวมทั้งวิธีจัดการกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์เป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ของโลก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา สภาพลมฟ้าอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ ย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะสิ่งแวดล้อมจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบ การกระจายผลผลิตของสังคมพืชและสัตว์ ซึ่งส่งผลสะท้อนไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มากที่สุด โดยจะเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนจากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในแต่ละยุค แต่ละสมัย ขึ้นอยู่กับลักษณะสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป


มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันเป็นวงจรไม่สามารถที่จะบอกได้ชัดเจนว่าสิ่งใดมีอิทธิพลต่อสิ่งใดมากกว่ากัน สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของมนุษย์และกิจกรรมของมนุษย์ก็เป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ย่อมส่งผลกระทบต่อของมนุษย์ให้เปลี่ยนแปลงอีกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและจะดำเนินต่อไปในอนาคต (ภาณี คูสุวรรณ์ และศจีพร สมบูรณ์ทรัพย์, 2542 : 4)


สรุปฉบับความคิดของเจ้าตัว ได้ดังนี้ มนุษย์เกิดจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นมนุษย์จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งแวดล้อมกลายเป็นส่วนหนึ่งโดยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มนุษย์มีบทบาทมากในการกำหนดความเป็นไปของสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการการนำมาใช้ การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้น รวมถึงทำลายเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง ล้วนมีผลกระทบที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น แต่มนุษย์หารู้ไม่ว่าสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายล้อมพวกเขานั้นถูกกำหนดให้สัมพันธ์กันในทุก ๆ ด้าน เหมือนเป็นกระจกสะท้อนผลการกระทำของตัวเราเองด้วยซ้ำ หรือมองอีกในแง่ของธรรมะก็อาจเปรียบได้ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ก็คงไม่ผิด ยกตัวอย่างเช่น การทำลายป่าไม้ของมนุษย์ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา จากสถิติของกระทรวงทรัพยากรฯ ไม่มีปีใดเลยที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นหรืออยู่ในปริมาณคงที่ แต่ลดลงอย่างน่าใจหาย ผลที่ตามมาก็คือ น้ำท่วม ดินถล่ม อากาศเสีย ฯลฯ บางกรณีอาจจะน้อยแต่ก็มีส่วน อีกตัวอย่างคือ การลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ยิ่งเศรษฐกิจดีเท่าไร โรงงานอุตสาหกรรมยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ถึงจะมีมาตรการควบคุมควันพิษ และน้ำทิ้งจากโรงงาน แต่ก็ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อยู่ดี เช่นน้ำมีมลสาร อากาศมีมลสาร เป็นต้น


ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืนแต่ถูกสะสมมาเป็นสิบสิบปีหรืออาจจะมากกว่านั้น แต่มนุษย์ก็หลีกเลี่ยงการพัฒนาไม่ได้ อาจจะเพื่อระดับความเป็นอยู่ หรือความสะดวกสบาย ก็แล้วแต่กรณีต่าง ๆ นา ๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามนุษย์ได้ละเลยผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ยังมีหลายกลุ่มหลายหน่วยงานที่มองเห็นและกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นและได้ปฏิบัติทุกวิถีทางเพื่อแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ในที่สุดแล้วกลุ่มคนส่วนใหญ่ละเลยและมองข้ามปัญหาเหล่านี้เพราะคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่และคิดว่าตัวเองเป็นเพียงคนคนนึงคงแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่หารู้ไม่ว่ากลุ่มคนส่วนน้อยจะรวมเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ถ้าทุกคนทำ ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็จะบรรเทาลง หรือจะรอให้ธรรมชาติปับตัวของมันเอง เมื่อถึงวันนั้น ชีวิตคงเริ่มต้นจาก 1 ใหม่ (ยุคสร้างโลก)






http://www.tlcthai.com/club/view_topic.php?club=little_lovely&club_id=754&table_id=1&cate_id=984&post_id=12866







8. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไมมีชีวิต








สิ่งแวดล้อมกับมนุษย์


สิ่งแวดล้อม ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 และในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ให้คำนิยามของสิ่งแวดล้อมตรงกันคือ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น


การจำแนกสิ่งแวดล้อม ในการจำแนกสิ่งแวดล้อมสามารถแบ่งได้หลายจำพวกขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการแบ่ง ดังนี้


จำแนกตามองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมเป็น 4 ลักษณะ


1. สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ (Physical Environment)


2. สิ่งแวดล้อมทางด้านเคมี (Chemical Environment)

3. สิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ (Biological Environment) หมายถึง คุณลักษณะสิ่งแวดล้อมที่มีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ รวมถึงมนุษย์ด้วย ซึ่งมนุษย์มีบทบาทที่สำคัญทั้งในการช่วยค้ำจุน และในการทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยกันเอง

4. สิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม (Social Environment) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในด้านการใช้ชีวิตในสังคม รวมถึงพฤติกรรม จารีตประเพณี และวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน เช่น ประเพณีทางศาสนา เป็นต้น


สิ่งแวดล้อมแบ่งเป็นลักษณะตามเกิดได้ 2 ลักษณะ


1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดตามธรรมชาติ (Natural Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ เป็นต้น


2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Environments) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น


สิ่งแวดล้อมแบ่งตามการมีชีวิตได้ 2 ลักษณะ


1. สิ่งแวดล้อมมีชีวิต (Biotic Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ รวมถึงมนุษย์ด้วย

2. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ( Abiotic Environments ) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น เช่น อากาศ น้ำ แสงสว่าง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น

การดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดทุกยุคสมัย ในระยะแรก ๆ เนื่องจากจำนวนประชากรยังมีไม่มากประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมยังมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ การกระทำของมนุษย์เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งแวดล้อมยังมีไม่มาก และธรรมชาติยังมีความสามารถรองรับและฟื้นตัวได้เองจากการกระทำของธรรมชาติเองและจากการกระทำของมนุษย์ได้เกือบหมด ดังนั้นประเด็นปัญหาปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจึงถูกละเลย และไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร




การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ในเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หมายถึงการใช้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยความชาญฉลาดและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ให้มากที่สุดและมีระยะเวลาในการใช้งานยาวนานที่สุด

สังคมไทยเราแต่โบราณก็ได้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ อาทิ เกษตรกรรมได้มีการเพาะปลูก ทำนา โดยใช้วัว ควายเป็นแรงงานในการไถพรวนและเลี้ยงตามไร่ตามท้องนา ซึ่งก็ท่ากับว่าเป็นการเพิ่มปุ๋ยให้แก่พื้นดินจากมูลสัตว์เหล่านั้น ในขณะเดียวกันคนในสมัยก่อนจะไม่มีการจับปลาในวันพระตามสระน้ำในวัด ยิงนก ล่าสัตว์ ในบริเวณป่าตามวัด เป็นต้น

ประเภทของสิ่งแวดล้อมที่ควรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นทุกส่วนทุกอย่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ หากส่วนหนึ่งส่วนใดถูกกระทบทำลาย ก็จะก่อให้เกิดปัญหาได้ ซึ่งอาจแยกสิ่งแวดล้อมได้เป็นประเภทใหญ่สำหรับการอนุรักษ์ได้ดังนี้

1. ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า น้ำ ดิน อากาศ มนุษย์ และพื้นที่ธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้

1.1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่รู้จักหมด

1.2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วนำมาใช้ใหม่ได้

1.3 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป

2. ธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์ หมายถึง ธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิทยาการและสุนทรียภาพที่เกี่ยวข้องเป็นสัณฐานที่สำคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์อันเป็นเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ซึ่งจำแนกลักษณะได้ดังนี้

2.1 เกาะและแก่ง

2.2 ภูเขา ถ้ำ น้ำตกและน้ำพุร้อน

2.3 ทะเลสาบ หนองและบึง

2.4 หาดทราย และหาดหิน

2.5 แหล่งที่มีซากดึกดำบรรพ์ (พืชและสัตว์) สุสานหอย 75 ล้านปี

2.6 สัณฐานอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางธรณี สัณฐานวิทยา และภูมิลักษณวรรณนา เช่น เขาพิงกัน แพะเมืองผี

3. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และระบบสังคมต่าง ๆ

ความจำเป็นที่ต้องมีการอนุรักษ์ในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ชาติ เพื่อแสวงหาการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาตินั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงความจริงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้นคือ ขีดจำกัดของทรัพยากรสมดุลของระบบนิเวศความเป็นมาของด้านวัฒนธรรมรวมถึงความต้องการของมนุษย์ในอนาคต ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "อนุรักษ์" การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 4 ประการ คือ

1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งปัจจัยสำคัญของระบบสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสัตว์ และระบบสนับสนุนการดำรงชีวิต เป็นการปรับปรุงป้องกันพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก การหมุนเวียนแร่ธาตุอาหารพืช ตลอดจนการทำน้ำให้สะอาด

2. เพื่อสงวนรักษาการกระจายของชาติพันธุ์ ซึ่งขึ้นกับโครงการขยายพันธุ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการปรับปรุงการป้องกันธัญพืช สัตว์เลี้ยง และจุลินทรีย์ต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีตลอดจนการคุ้มครองอุตสาหกรรม นานาชาติที่ใช้ทรัพยากรที่มีชีวิตเป็นวัตถุดิบ

3. เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้พันธุ์พืชสัตว์และระบบนิเวศเพื่อประโยชน์ในการยังชีพตามความเหมาะสม

4. เพื่อสงวนรักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าไว้ไปยังอนุชนรุ่นหลังรวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น

จากวัตถุประสงค์การอนุรักษ์ดังกล่าวเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้เนื่องจาก

1. ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความจำเป็นในการยังชีพและการพัฒนา

2. ความต้องการที่จะกำหนดวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาการอนุรักษ์ที่สำคัญ

3. สมรรถภาพของการอนุรักษ์ทั่วประเทศและระหว่างประเทศยังขาดจากการจัดการและประสานงานที่ดี

4. โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม ได้ถูกทำลายอย่างมาก จากการกระทำของมนุษย์ จากการพัฒนาต่าง ๆ







หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะต้องครอบคลุมปัญหาใหญ่ คือปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมถูกทำลาย ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าวมีความสำคัญซึ่งตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาก็คือมนุษย์นั้นเอง สำหรับแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปนั้นสามารถกระทำได้โดยกว้าง ดังนี้

1.การให้การศึกษาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพราะการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง ๆ นั้นมิใช่การหยุดการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือการปฏิเสธเทคโนโลยี แต่ความสำคัญนั้นอยู่ที่การเปลี่ยนทัศนคติของคนเพื่อให้เขาสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทิศทางส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยวิธีการทุก ๆ ชนิดรวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เข้าถึงตัวประชาชนให้มากที่สุด

2. การปรับปรุงคุณภาพ เป็นวิธีการตรงที่ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและภาวะแวดล้อมเสื่อมโทรม

3. การลดอัตราการเสื่อมสูญ การบริโภคของมนุษย์ในปัจจุบันในหลายประเภทมักจะบริโภคทรัพยากรกันอย่างฟุ่มเฟือยและไม่ค่อยได้ใช้ให้อยู่ในขอบเขตจำกัด มักจะมีทัศนคติต่อการบริโภคในลักษณะที่ว่าสามารถบริโภคได้สูงสุดจะทำให้มีความสุขที่สุด ทัศนคติเช่นนี้จะทำให้ป่าไม้ถูกทำลายเช่น การตัดหนึ่งต้นแทนที่ใช้ประโยชน์จากต้นไม้ทุก ๆ ส่วนแต่กลับใช้ประโยชน์ เฉพาะส่วนที่เป็นต้นเท่านั้นที่เหลือ เช่น กิ่ง ใบ หรือ ส่วนอื่น เช่นส่วนที่เป็นตอมักจะถูกทิ้งไป อันที่จริงแล้วส่วนเหล่านี้สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น ไม่ควรทิ้งขว้าง เป็นต้น

4. การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ การผลิตวัสดุเครื่องใช้ต่างๆ ย่อมมีส่วนเป็นเศษเรียกกันว่าเศษวัสดุ เช่น เหล็ก อลูมิเนียม สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว พลาสติก กระดาษ สิ่งเหล่านี้สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่อีก โดยเก็บรวบรวมแล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่อีกโดยเก็บรวบรวมแล้วนำเอาไปหลอมใหม่

5. การใช้สิ่งทดแทน ทรัพยากรที่ใช้ประโยชน์ได้ดีในอดีตเริ่มร่อยหรอลง เนื่องจากความต้องการเกี่ยวกับการบริโภคสูงนั้นเอง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา เพื่อหาลู่ทางนำทรัพยากรอื่น ที่มีคุณภาพเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาทำหน้าที่ในงานประเภทเดียวกัน

6. การใช้สิ่งที่มีคุณภาพรองลงมา ธรรมชาติทรัพยากรชนิดเดี่ยวกันอาจมีคุณภาพแตกต่างกันออกไป เช่น พันธุไม้ในป่าซึ่งมีมากมายมีคุณภาพแตกต่างกันออกไปบางชนิดมีเนื้อไม้แข็งเมื่อนำมาแปรรูปก็จะได้ไม้ที่มีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ มนุษย์จึงนิยมเลือกไม้เหล่านี้มาใช้ประโยชน์ก่อน นานเข้าไม้เหล่านี้ค่อยร่อยหรอลงจนเกือบจะหมด ดังนั้นแนวทางหนึ่งของการแก้ปัญหาก็คือ การใช้ไม้ที่มีคุณภาพรองลงมา โดยการนำไม้ที่มีคุณภาพรองลงมานั้นไปอบน้ำยาหรืออาบน้ำยาทั้งนี้เพื่อรักษาคุณภาพของไม้ให้ทนทาน ป้องกันปลวก มอด เชื้อรา ซึ่งมีส่วนทำให้ไม่ผุกร่อน ให้ใช้ได้นาน เทียบเท่ากับไม้เนื้อแข็งที่หมดไปในบางประเทศ ไม้ที่จะนำมาก่อสร้างจะต้องอาบน้ำยาเสียก่อนโดยเขาออก กฎหมายบังคับกันเลยทีเดียว

7. การสำรวจหาทรัพยากรใหม่ ๆ ปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีการค้นหาทรัพยากรมาใช้กันมากมายแล้วก็ตาม แต่ทรัพยากรในธรรมชาตินั้นยังมีอยู่อีกมากมาย ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าหากมีการสำรวจกันอย่างจริงจังก็น่าจะพบทรัพยากรที่สามารถนำใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพของมนุษย์อยู่อีกมาก

8. การป้องกัน เป็นวิธีการจัดการโดยตรงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมร่อยหรอรวดเร็วเกินไปหรือป้องกันมลสารหรือวัตถุเป็นพิษไม่ให้แปดเปื้อนสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัย รวมทั้งโบราณสถานโบราณวัตถุในกรณีที่บรรยากาศมีก๊าซพิษหรือสารพิษเจือปนน้ำไม่สะอาดไม่สามารถใช้บริโภคได้เพราะมีสิ่งแปลกปลอมขึ้นในรูปของสารพิษและเชื้อโรคสิ่งเหล่านี้ย่อมอยู่ในสิ่งแวดล้อม




http://gotoknow.org/blog/envisci/304856




9. อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม